Cute Black Flying Butterfly

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดินถล่ม

  ดินถล่ม (ภัยพิบัติ)
                  ดินถล่ม (Landslide)
คือปรากฏการณ์ที่ส่วนของพื้นดิน ไม่ว่าจะเป็นก้อนหิน ดิน ทราย โคลน หรือเศษดิน เศษต้นไม้ไหล เลื่อน เคลื่อน ถล่ม พังทลาย หรือหล่น ลงมาตามที่ลาดเอียง อันเนื่องมาจากแรงดึงดูดของโลก ในขณะที่สภาพส่วนประกอบของชั้นดิน ความชื้นและความชุ่มน้ำในดิน ทำให้เกิดการเสียสมดุล

                   ดินถล่ม เป็นปรากฏการณ์ที่มีมาแต่สร้างโลก อาจเป็นเพียงเล็กน้อยเพียงก้อนหินก้อนเดียวที่ตกหรือหล่นลงมา หรือเศษของดินจำนวนไม่มากที่ไหลลงมา หรืออาจเกิดรุนแรงใหญ่โต เช่น ภูเขาหรือหน้าผา หรือลากเขาพังทลายลงมาก็ได้ และอาจเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด หรือค่อยๆ เป็นไปช้าๆ ก็ได้ จนกว่าจะเกิดความสมดุลใหม่จึงหยุด
                   เนื่องจากในระยะหลังๆ นี้ ดินถล่มปรากฏเป็นข่าวบ่อยมากขึ้น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินและชีวิตมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาเพื่อหาทางป้องกันและหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้น
                   สาเหตุของดินถล่ม (Causes of Landslides) เกิดจากกรที่พื้นดินหรือส่วนของพื้นดินเคลื่อน เลื่อน ตกหล่น หรือไหล ลงมาจากที่ลาดชัน หรือลาดเอียงต่างระดับ ตามแรงดึงดูดของโลกในภาวะที่เกิดการเสียสมดุลด้วยเหตุต่างๆ มักพบบ่อยๆ บริเวณภูเขาที่ลาดชัน แต่ความจริงอาจเกิดขึ้นบริเวณฝั่งแม่น้ำ และชายฝั่งทะเลหรือมหาสมุทร แม้กระทั่งใต้มหาสมุทร

ความเสียหายที่เกิดขึ้น
1.บริเวณที่เกิด ดินถล่ม จะทำให้โครงสร้างของชั้นดินบริเวณนั้นเสียสมดุล เป็นเหตุให้เกิด ดินถล่ม ซ้ำได้
2.ทำลายระบบนิเวศน์และชุมชน
3.สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

การเตรียมการและการป้องกัน
1.สังเกตและระมัดระวังพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเฉพาะเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกัน
2.วางแผนการอพยพหนีภัย เก็บของมีค่า และเอกสารสำคัญไว้ในที่ปลอดภัย
3.ปลูกต้นไม้ที่มีระบบรากแก้วเพื่อยึดเหนี่ยวชั้นดิน

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วาตภัย

วาตภัย ภัยพิบัติทางธรรมชาติอันน่ากลัว
หากสภาพบรรยากาศถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม การก่อตัวของกระแสลม เราจะให้คำจำกัดความว่า พายุ โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง ความรุนแรงของพายุ จะมีความเร็วที่ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กม./ชม. ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีหน่วยวัดความรุนแรงคล้ายหน่วยริกเตอร์ของการวัดความรุนแรงแผ่นดินไหว มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆภัยที่เกิดขึ้นจากพายุลมแรง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้าง สำหรับในประเทศไทยวาตภัยหรือพายุลมแรงมีสาเหตุมาจากปรากฎการณ์ทางธรรรมชาติ
พายุถล่มเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เรียกว่า วาตภัย ซึ่งวาตภัยมีสาเหตุมาจาก
1) พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ ดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน พายุใต้ฝุ่น
2) พายุฤดูร้อน
3) ลมงวง (เทอร์นาโด)

 

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อุทกภัย

อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจาก พายุ หมุนเขตร้อนลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ

ชนิดของอุทกภัย
  1.น้ำป่าหลาก เกิดจากฝนตกหนักบนภูเขา ต้นน้ำลำธารและไหลบ่าลงที่ราบอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีต้นไม้ ช่วยดูดซับ ชะลอกระแสน้ำ ความเร็วของน้ำ ของท่อนซุง และต้นไม้ ซี่งพัดมาตามกระแสน้ำจะทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน และชีวิตมนุษย์และสัตว์จนได้รับความเสียหาย.
  2.น้ำท่วมขัง น้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติท่วมแช่ขัง ทำให้การคมนาคมหยุดชะงัก เกิดโรคระบาดได้ ทำลายพืชผลเกษตรกร
  3.คลื่นซัดฝั่ง เกิดจากพายุลมแรงซัดฝั่ง ทำให้น้ำท่วมบริเวณชายฝั่งทะเล บางครั้งมีคลื่นสูงถึง 10 เมตร ซัดเข้าฝั่งทำลายทรัพย์สินและชีวิตได้
การป้องกันและลดความเสียหายจากอุทกภัย ควรติดตามฟังข่าวอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ เมื่อใดที่กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนให้อพยพ ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูง อาคารที่มั่นคงแข็งแรง


ผลกระทบจากน้ำท่วม
1. เกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์
2. เส้นทางคมนาคม และพืชผลทางการเกษตรเสียหาย

การเตรียมการและการป้องกัน
1.ติดตามข่าวสารและการพยากรณ์อากาศอย่างต่อเนื่อง
2.เตรียมกระสอบทรายเพื่อเสริมคันดินกั้นน้ำ
3.วางแผนการอพยพหนีภัย เก็บของมีค่า เอกสารสำคัญไว้ในที่ปลอดภัย
4.เตรียมเครื่องเวชภัณฑ์ไว้ในยามฉุกเฉิน

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

ปัจจุบันสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า แร่พลังงาน เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผมกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมาก

1.  ที่ดินและทรัพยากรดิน
มูลเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท มีดังนี้
      1.ความต้องการเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรม เนื่องจากความต้องการก้านของผลผลิตเพิ่มมาขึ้นและแสวงหาที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ต้องบุกรุกพื้นที่ป่าไม้
      2.การขยายตัวของชุมชนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ เช่น จากที่เคยเป็นพื้นที่เกษตรกรรมก็เปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่การสร้างที่อยู่อาศัย สร้างระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่นถนน ไฟฟ้า แหล่งน้ำ เป็นต้น
      3.พื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ลกลง เนื่องจากการเข้าไปใช้พื้นที่ของทาราชการการบุกรุกเข้าไปทำกิน สร้างที่อยู่อาศัย การปลูกป่าเพื่อขยายพื้นที่ป่าไม้
      4.ความต้องการใช้น้ำมากขึ้น จากการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อนของทุกปีความต้องการพื้นที่มาสร้างที่กักเก็บน้ำจึงเพิ่มขึ้น เช่น สร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ คลองเก็บน้ำ คลองส่งน้ำเพื่อการเกษตรและผลผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น

2.  ทรัพยากรน้ำ
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำทรัพยากรน้ำยังมีประโยชน์ต่อประชาชนคนไทย ดังนี้
       1.ใช้ในการอุปโภคบริโภค 
       2.ใช้ในการเพาะปลูก 
       3.ใช้ในภาคอุตสาหกรรม
       4.ใช้ในการผลิตน้ำประปาและการผลิตกระแสไฟฟ้า 
       5.ใช้ในการคมนาคมขนส่ง 
       6.ใช้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 
       7.ใช้ในด้านของการนันทนาการ          
สถานการณ์ทางน้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนมีความแปรปรวนมากขึ้น ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค ในภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมมีมากขึ้น โดยเฉพาะในฤดูแล้งมักจะมีความต้องการใช้น้ำในด้านต่างๆ มากกว่าปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ ถึงแม้ว่าทรัพยากรน้ำจะเป็นทรัพยากรหมุนเวียน แต่ประเทศไทยไม่สามารถสร้างแหล่งกักเก็บน้ำได้เพียงพอ ดังนั้น จึงควรใช้น้ำอย่างประหยัด

3.ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
การใช้ประโยชน์ ประโยชน์จากป่าไม้ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ดังนี้
   1. การใช้ไม้เป็นวัสดุก่อสร้างและใช้สอย การใช้ไม้สร้างบ้านเรือน 
   2. ใช้เป็นอาหารและยารักษาโรค ส่วนต่างๆ ของพืช 
   3. ใช้เป็นเชื้อเพลิง ต้นไม้ ถูกตัดมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้ม
   4. ช่วยลดโลกร้อน ต้นไม้จะช่วยนำคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมาใช้ และให้ออกซิเจนออกไป 
   5. ช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ 
   6. เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์
มนุษย์รู้จักนำสัตว์ป่ามาใช้ประโยชน์ ดังนี้
   1.อาหารและยา เนื้อและอวัยวะส่วนต่างๆ ใช้เป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับ
   2.สร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศ สัตว์ป่าจะช่วยกำจัดศัตรูพืช
   3.สัญญาเตือนภัยธรรมชาติ สัตว์ป่าจะมีสัญชาตญาณรับรู้ภัยธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นล้วงหน้า 

 สถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตอากาศร้อนชื้น พืชและสัตว์ในประเทศจึงมีความหลากหลาย  สภาพแวดล้อมมีระบบนิเวศ ทีสลับซับซ้อน มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันกับระบบนิเวศในภูมิภาคและในโลก ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์นั้น คนไทยรู้จักการใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่ามานาน แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงลานจำนวนมากที่ยังพึ่งพิงการใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าอยู่ 

4.แร่และพลังงาน
   แร่เป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อนำมาใช้แล้วก็จะหมดไปไม่สามารถเกิดขึ้นทดแทนได้อีก นอกจากว่าเมื่อเรานำมาใช้แล้วจะนำไปดัดแปลง ปรับปรุงเพื่อนำไปใช้ได้อีกแต่ในปัจจุบันความต้องการในการใช้ภายในในประเทศมีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในระยะที่ประเทศมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจทำให้แร่ที่มีอยู่ขาดแคลน ซึ่งจะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศสำหรับพลังงานซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญทางเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากในช่วงที่ขาดแคลนพลังงานทีการควบคุมปริมาณการผลิตพลังงาน ทำให้สินค้าราคาสูงเพราะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่ใช้พลังงานเป็นเชื่อเพลิง เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่างๆ ของโลก

 ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกได้สะสมขึ้นนับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อราว 200 ปีที่ผ่านมา โดยการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในทวีปยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกานั้นทำให้มีการนำพลังงานถ่านหินและน้ำมันมาใช้มากขึ้น เป็นการเพิ่มมลพิษให้แก่สิ่งแวดล้อมจากสารที่ผสมอยู่ในน้ำมัน ต่อมาในกลางศตวรรษที่ 20 การพัฒนาเกษตรยุคใหม่ได้หันมาใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ซึ่งส่งผลให้สารเคมีเกิดการแพร่กระจายไปในน้ำ อากาศ ดิน และในห่วงโซ่อาหาร ในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เข้าสู่ภาวะวิกฤต มีดังนี้

1. การเกิดภาวะโลกร้อน การที่อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้น เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของแก๊สเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ คลอไรฟลูออไรคาร์บอน มีเทน และไนตรัสออกไซด์ โดยมนุษย์เป็นตัวการสำคัญในการปล่อยแก๊สเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ เช่น การทำอุตสาหกรรม การคมนาคม ขนส่งการเผาขยะ รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น นอกจากนี้ อุณหภูมิ ที่สูงขึ้นของโลกยังก่อให้เกิดโรคระบาดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยงซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลกอีกด้วย

2. น้ำเสียและการขาดแคลนน้ำ ความต้องการใช้น้ำมากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก การขยายตัวของอุตสาหกรรม และใช้สำหรับการเพาะปลูกการขาดแคลนน้ำใช้รุนแรงขึ้นในฤดูร้อน โดยทวีปแอฟริกาขาดแคลนน้ำมากที่สุดรองลงไปเป็นภูมิภาคตะวันออกกลาง ประเทศอินเดีย และบริเวณที่ราบตอนเหนือของประเทศจีนเนื่องจากน้ำในแหล่งน้ำมีน้อยทั้งประเภทน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน

3. อากาศเสีย อากาศเสียหรืออากาศเป็นพิษนับวันจะมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยโดยตรงของมนุษย์โดยตรง ในแต่ละปีทั่วโลกจะมีผู้ที่เสียชีวิตเพราะอากาศเป็นพิษนับแสนคน โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนภูมิภาคตะวันออกและประเทศจีนอากาศเป็นพิษเกิดจากการทำเหมืองถ่านหินและการใช้ถ่านหินและการใช้ถ่านหินในโรงงานอุตสาหกรรม เกิดสารซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ เขม่าควันเข้าสู่บรรยากาศ ทำให้เกิดโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ และถุงลมโป่งพอง

4. การสูญเสียป่าไม้และสัตว์ป่า ป่าไม้และสัตว์ป่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบนิเวศ และป่าไม้ก็มีความสัมพันธ์ กับทรัพยากรธรรมชาติ อื่นๆ เช่น ความชุ่มชื่นของดินฟ้าอากาศ ช่วยควบคุมปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ทำให้ฝนตกช่วยลดการพังทลายของดิน เป็นต้น การสูญเสียป่าไม้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ด้วย

5. การขาดแคลนพลังงานพลังงานเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน โดยมีการใช้พลังงานกับยานพาหนะเครื่องจักร เครื่องใช้ในบ้านเรือง เครื่องใช้ในครัวเรือน ใช้ในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ในขณะที่ความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณพลังงานมีอยู่อย่างจำกัด จึงทำให้ราคาสูงขึ้น มีผลกระทบต่อฐานะทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สหกรณ์

ประวัติสหกรณ์สากล
บิดาสหกรณ์โลก
สหกรณ์ถือกำเนิดขึ้นในยุโรปในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมที่ต้องใช้ที่ดินจำนวนมาก การกว้านซื้อที่ดินส่งผล ให้ประชาชนชั้นรากฐานไร้ที่ดินทำกิน ละทิ้งถิ่นฐานเข้าไปขายแรงงานในเมืองหลวง ความยากจนยิ่งโหมกระหน่ำ จากสังคมที่เคยเกื้อกูลดังเช่นในชนบทได้จางหายไปทุกคนต้องต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอด ถึงกระนั้นความพยายามแสวงหาวิธี สร้างสังคมใหม่ควบคู่กันไปกับระบบเศรษฐกิจที่ ยั่งยืนได้ใช้เวลาเนิ่นนานจึงคิดค้นวิธีการได้สำเร็จ เรียกว่า" การสหกรณ์ " และถือว่า โรเบิร์ด โอเวน เป็นบิดาสหกรณ์โลก

สหกรณ์แห่งแรกของโลก
ความลำบากยากแค้นของผู้ใช้แรงงานในโรงงานท่อผ้า ณ เมืองรอชเดล ประเทศอังกฤษ ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการซื้อสินค้าเงินเชื่อรวมกับดอกเบี้ยสูง และการจ่ายค่าจ้างเป็นสิ่งของ เป็นแรงผลักดันให้มีการแสวงหาทางรอด ตามวิธีสหกรณ์ คือร้านสหกรณ์ รอชเดล โดยสมาชิกผู้ก่อตั้ง มีข้อตกลงร่วมกันในหลักเกณฑ์ที่เรียกว่า กฎ 10 ประการ และกฎนี้เป็นแม่บทของ หลักการสหกรณ์ สหกรณ์นี้จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นสหกรณ์แห่งแรกของโลก การดำเนินงานของสหกรณ์รอชเดล ไม่เพียงแต่ช่วยเหลือสมาชิกเฉพาะในด้านเครื่องโภคภัณฑ์เท่านั้น ยังมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะด้านการศึกษา เพราะเป็นที่เข้าใจกันว่าผู้ใช้แรงงานมีความรู้น้อย การศึกษาจึงมีความจำเป็น โดยได้เปิดสอน ในวิชาการต่าง ๆ แก่สมาชิกในยามว่าง ก็คือ เวลากลางคืน จึงเรียกว่า " โรงเรียนกลางคืน "

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
ความลำบากยากเข็ญที่กระจายอยู่ทั่วไป เยอรมันก็เป็นประเทศหนึ่งที่กำเนิดสหกรณ์เครดิต (สหกรณ์สินเชื่อ หรือ ธนาคารสหกรณ์) ซึ่งมี 2 ประเภท คือ สหกรณ์ในเมือง มีเฮอร์มัน ชุลซ์ - เดลิทซ์ (Hermanu Schulze - Delitzsch) เป็นผู้ให้กำเนิดสหกรณ์ สำหรับประชาชนผู้ยากจนในเมือง และ สหกรณ์เครดิตในชนบท มีฟรีดริช วิลเฮล์ม ไรฟ์ไฟเซน (Friedrich Wilhelm Raiffisen) เป็นผู้ให้กำเนิด ในการจัดตั้งสหกรณ์สำหรับชาวนา โดยได้ขยายไปทั่วเยอรมนีและสหกรณ์เหล่านี้ได้ร่วมตัวกันก่อตั้ง สถาบันกองทุนกลางในภูมิภาคต่าง ๆในที่สุดได้ก่อตั้งสถาบันกลางระดับชาติ

วันสหกรณ์สากล (International Cooperativees Day)
สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ มีหลายประเภทหลายระดับรวมเป็นขบวนการสหกรณ์ของประเทศนั้น ๆ มีความเจริญก้าวหน้าแตกต่างกันไป มองในภาพรวมเรียกได้ว่าเป็น " ขบวนการสหกรณ์โลก " มีการประชุมสมัชชาสหกรณ์ระหว่างชาติ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2438 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีมติก่อตั้งองค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ ระหว่างประเทศ ( องค์การ ICA ) เพื่อประสานความร่วมมือในด้านต่าง ๆ มีสำนักงานใหญ่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศ สวิชเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2538 องค์การ ICA ได้ปรับปรุงและประกาศหลักการเป็น 7 ประการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้องค์การ ICA ได้ประกาศให้สหกรณ์ทั่วโลกร่วมเฉลิมฉลองวันสหกรณ์สากลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2465 ต่อมาที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2535 มีมติให้วันเสาร์แรกของเดือนกรกฎาคมทุกปี เป็น " วันสหกรณ์สากล "

ประวัติสหกรณ์ไทย บิดาและสหกรณ์แรกของไทย
สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าส่งผลดีในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2458 นโยบายแห่งรัฐ เห็นสมควรนำวิธีการสหกรณ์ เข้ามาช่วยพัฒนาประเทศให้ประชาชนได้หลุดพ้นจากความยากจน โดยเฉพาะเกษตรกร พระราชวรวงค์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ได้ทรงส่งเสริมให้ก่อตั้งสหกรณ์แห่งแรกคือ สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ ณ ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกและทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์ รับจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แห่งแรก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459ตามรูปแบบสหกรณ์ เครดิตแบบไรฟ์ไฟเซน ที่ได้รับความสำเร็จ มาแล้วใน อินเดีย และพม่า ซึ่งทั้งสองประเทศได้ส่งคนไปศึกษาจากประเทศเยอรมนี และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2527 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันสหกรณ์แห่งชาติ "

ขบวนการสหกรณ์ไทย
การสหกรณ์ได้แพร่หลายเริ่มตั้งแต่การตราพระราชบัญญัติสมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. 2459 เพื่อทดลอง และเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 ได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 เป็นพระราชบัญญัติสหกรณ์ฉบับแรกที่ส่งเสริมให้สหกรณ์ร่วมกลุ่ม กันก่อตั้งชุมนุมสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้ก็ได้เกิดขึ้นโดยการรวม กลุ่มกันของสหกรณ์ท้องถิ่น ได้จดทะเบียนเป็นประเภทชุมชนสหกรณ์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 มีพระบรมราช โองการ ประกาศพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มีผลทำให้สันนิบาตสหกรณ์ แห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้ เลิกไป และให้มีการก่อตั้งสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยขึ้นแทนโดยผลแห่งกฎหมายสหกรณ์ฉบับนั้นพระราช บัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งใช้บังคับในปัจจุบัน กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ และกอง ทุนพัฒนาสหกรณ์ ( อยู่ไต้ พรบ. ปี 2511 อยู่แล้ว )

การจัดรูปองค์การของสหกรณ์
- สหกรณ์ไม่ใช้องค์การของรัฐ เพื่อดำเนินธุรกิจหรือกิจกรรมทางสังคม
- สหกรณ์ไม่ใช้บริษัทเอกชน เพื่อดำเนินธุรกิจแสวงหาผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้น
 - สหกรณ์ไม่ใช้องค์การของรัฐ ไม่เป็นกระทรวงทะบวง และกรมต่าง ๆ
 - สหกรณ์ไม่ใช้องค์การ เพื่อสร้างสีสันทางการเมือง ซึ่งไม่ได้มอบบริการที่บริสุทธ์เหมาะสมดั่งที่สมาชิกต้องการ " สหกรณ์ " ตามความหมายขององค์การสัมพันธ์ภาพสหกรณ์ ระหว่างประเทศ คือ องค์การอิสระของบุคคลซึ่งร่วมกัน ด้วย ความสมัครใจ เพื่อสนองความต้องการ และจุดมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมโดยการดำเนิน วิสาหกิจที่ พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกันบริหารงาน และควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย

หลักการสหกรณ์ 7 ประการ
1.การเปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจ
2.การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย การเป็นสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง
3.การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก
4.การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ
5.การศึกษา ฝึกอบรม และข่าวสาร
6.การร่วมมือระหว่างสหกรณ์
7.ความเอื้ออาทรต่อชุมชน

หน้าที่ของรัฐบาลต่อสหกรณ์
สหกรณ์เป็นองค์การปกครองตนเองโดยไม่ถูกควบคุมและชี้นำโดยรัฐบาล และบทบาทของรัฐบาลที่เกี่ยวกับสหกรณ์ คือ การออกกฎหมาย นโยบาย การจดทะเบียน การอำนวยความสะดวก การให้คำแนะนำและการชำระบัญชี

ความเสมอภาคเท่าเทียมของสมาชิก
สหกรณ์เป็นองค์การที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนองค์การรูปแบบใด เพราะการดำเนินการสหกรณ์จะมีกำไรหรือขาดทุนสมาชิกคือ ผู้รับที่ได้รับการแบ่งปันผลการดำเนินการอย่างเท่าเทียมกัน เพราะว่า สมาชิกเป็นเจ้าของสหกรณ์และเป็นผู้ใช้บริการสหกรณ์ การมารับบริการจากสหกรณ์ของสมาชิกเป็นชัยชนะของสมาชิก นี่คือความแตกต่าง ถ้าสมาชิกผู้ถือหุ้นไม่มาใช้บริการขององค์สหกรณ์ ก็ไม่ใช่สหกรณ์ เพราะการรวมกันเป็นสหกรณ์ คือความต้องการใช้บริการของสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของตน นั่นหมายถึง สมาชิกแต่ละคนเพื่อทุกคนและทุกคนเพื่อแต่ละคน (Each for all and All for each)